หนังตะลุง”เป็นคำเรียกขานการแสดงพื้นบ้านที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในภาคใต้ แสดงโดยการเชิดตัวหนัง ให้เคลื่อนไหวกิริยาให้เข้ากับบทพากย์ ผูกเรื่องให้สนุกสนาน สะท้อนสังคม การเมือง เดิมการแกะหนังตะลุง เป็นการแกะเพื่อใช้สำหรับการแสดงมหรสพพื้นบ้านโดยเฉพาะรูปที่แกะส่วนมาก คือตัวที่ใช้ในการแสดง เช่น ตัวฤาษี ตัวพระ ตัวนาง หนูนุ้ย เท่ง ทอง เป็นต้น ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับการนำเป็นของขวัญของฝากที่ ใช้สำหรับแขวนผนัง รูปที่ใช้จึงเปลี่ยนไปส่วนใหญ่นิยมใช้รูปในวรรณคดี เช่นพระรามนางสีดา หนุมาน นางฟ้า เทวดี ครุฑ ภาพทิวทัศน์ บุคคลสำคัญ เป็นต้น เชื่อกันว่าหนังตะลุงเกิดขึ้นครั้งแรกที่บ้าน ควนมะพร้าวอำเภอเมืองฯ จังหวัดพัทลุง โดยมีตาหนูนุ้ย และตาหนักทอง ได้เป็นผู้คิดนำหนังวัวมาแกะเป็นรูป และเชิดเล่าเรื่องราวพูดคุยกันโดยใช้เสาหลักซึ่งใช้ล่ามช้าง ที่เรียกว่า "ตะลุง” เป็นเสาโรงหนัง จึงได้เรียกว่า "หนังตะลุง”มาจนทุกวันนี้ บางตำนาน ก็เรียกว่าหนังตา หนังลุง เพราะเกิดจากการเล่นหนังของตาหนูนุ้ย ตาหนักทอง ดังกล่าว เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ เป็นการบ่งบอกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ที่มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดพัทลุง มีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นภาคใต้ มีความวิจิตรงดงามประณีต